สมาชิกใหม่รับส่วนลด 15% บน Nike App: ใช้โค้ด APP15

สมูทตี้แตงโมฟื้นกำลัง

การโค้ชแล
อัพเดทล่าสุด: 8 กรกฎาคม 2563

โดย Nike Training

Current Time 0:00
Duration 0:00
Loaded: 0%
Stream Type LIVE
Remaining Time 0:00
 
1x
    • Chapters
    • descriptions off, selected
    • captions and subtitles off, selected

      พลิกฟื้นกำลังหลังการออกกำลังกายด้วยสมูทตี้สูตรรักสุขภาพสุดๆ แก้วนี้

      แตงโมคือผลไม้หวานฉ่ำในช่วงหน้าร้อนที่มาพร้อมกับประโยชน์ซึ่งซ่อนอยู่มากมาย มาดูกันว่าทำไมแตงโมจึงเหมาะกับการฟื้นฟูกำลังกล้ามเนื้อและช่วยลดการอักเสบ รวมไปถึงวิธีนำแตงโมเข้าไปผสานกับการฟื้นกำลังด้วยสมูทตี้แสนอร่อยสูตรนี้

      เครื่องดื่มที่วีแกนก็ดื่มได้แก้วนี้อุดมไปด้วยสารอาหารซึ่งช่วยลดอาการปวดเมื่อยของกล้ามเนื้อได้ อีกทั้งยังช่วยเติมอิเล็กโทรไลต์หลังจากการออกกำลังกายอย่างหนักหน่วงได้ด้วย นอกจากนี้ยังทำง่าย ดื่มแล้วสดชื่นสุดๆ มาดูเหตุผลและสูตรง่ายๆ ด้านล่าง พร้อมเคล็ดลับอีกเล็กน้อยสำหรับการแปลงสูตรและการเตรียมส่วนผสมแบบไม่ยุ่งยากกันเลย

      ส่วนผสมเด่น (และเหตุผลที่ทานแล้วจะติดใจ)

      1. แตงโมอุดมไปด้วยสารอาหาร
        ผลไม้รสหวานฉ่ำนี้มีระดับของไลโคปินสูงอยู่แล้วตามธรรมชาติ ซึ่งเป็นสิ่งที่งานวิจัยแสดงให้เห็นว่าช่วยลดอาการอักเสบและอาการปวดเมื่อยของกล้ามเนื้อได้ จึงทำให้ฟื้นกำลังได้รวดเร็วยิ่งขึ้น รวมถึงมีกรดอะมิโนชนิดซิทรูลีนที่เชื่อกันว่าช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของร่างกายได้โดยเสริมการไหลเวียนของเลือดและการดูดซึมออกซิเจน และเนื่องจากแตงโมมีน้ำเป็นส่วนประกอบ 92 เปอร์เซ็นต์ จึงช่วยเติมน้ำให้กับร่างกายหลังออกกำลังกายอย่างหนักได้อีกด้วย
      2. กะหล่ำดอกให้เนื้อสัมผัสที่ไร้รสชาติ
        หากกะหล่ำดอกทั้งหัวในเครื่องดื่มสมูทตี้ทำให้คุณยี้ ก็ขออย่าได้กังวลใจไป เพราะรสชาตินั้นเรียกได้ว่าจืดทีเดียว (จะได้รสก็แค่เพียงจากมะม่วงกับแตงโมที่หวานกว่าเท่านั้น) ผักชนิดนี้จะเพิ่มเนื้อสัมผัสแบบครีมคล้ายกับนม ลองพิจารณาวิธีง่ายๆ นี้ดูเพื่อถือเป็นการใส่ผักลงไปให้มากขึ้นในอาหารของคุณ

      เคล็ดลับมีประโยชน์เพื่อการเตรียมอาหารแบบง่ายๆ

      1. ซื้อวัตถุดิบมาตุนไว้
        ซื้อผักแช่แข็งมาเก็บไว้หลายถุงหน่อย จะได้มีของที่ต้องการไว้พร้อมเสมอในการทำเสิร์ฟหลายที่
      2. เตรียมกะหล่ำดอกไว้เป็นชุดๆ
        จัดเตรียมกะหล่ำดอกสดไว้ล่วงหน้า โดยหั่นหัวกะหล่ำดอกออกเป็นชิ้นเล็กๆ แล้วนำไปนึ่ง จากนั้นให้แช่แข็งไว้ วิธีนี้จะช่วยได้มากหากว่าผักสดมักทำให้คุณท้องอืด
      3. เก็บอย่างชาญฉลาด
        เก็บมะม่วงและกะหล่ำดอกแต่ละชุดไว้ด้วยกันในภาชนะสุญญากาศ แล้วนำเข้าช่องฟรีซได้เลย และเมื่อพร้อมปั่นสมูทตี้ สิ่งที่ต้องทำก็มีแค่เททั้งคู่ลงในเครื่องปั่นพร้อมกับส่วนผสมที่เหลือ

      อยากปรับเปลี่ยนอะไรไหม ลองเก็บไอเดียพวกนี้ไปใช้

      1. ใช้นมทางเลือกชนิดอื่น
        ถ้าคุณเลี่ยงนมจากสัตว์ ก็ลงมือทำได้เลย แต่หากคุณแพ้ถั่ว ก็ให้ใช้น้ำกะทิหรือนมข้าวโอ๊ตแทนนมจากถั่วได้
      2. เพิ่มโปรตีน
        หากต้องการจะฟื้นฟูกำลังให้เต็มประสิทธิภาพที่สุด หลังจากเทรนนิ่งฝึกความแข็งแรงที่มีเป้าหมายในการสร้างกล้ามเนื้อ ให้ลองใส่ผงโปรตีนชนิดไม่มีรสชาติลงไปดู (เลือกเป็นผงโปรตีนจากพืช หากอยากให้แก้วนี้เป็นวีแกน) หรือจะใส่กรีกโยเกิร์ตรสธรรมดาแบบมังสวิรัติทานได้ลงไปผสมด้วยก็ได้เช่นกัน
      3. ลดน้ำตาลลงหน่อย
        ลองเปลี่ยนมะม่วงไปเป็นผลไม้ที่มีน้ำตาลน้อยกว่าแทนดู เช่น สตรอว์เบอร์รีหรือบลูเบอร์รี
      4. ใส่เมล็ดพืชอย่างอื่นแทนได้
        หากไม่มีเมล็ดกัญชงติดครัว ก็ใส่เมล็ดเจียหรือเมล็ดแฟลกซ์แทนได้ ทั้งคู่มีเส้นใยที่ช่วยให้อิ่มท้องมากกว่า แต่ก็มีโปรตีนน้อยกว่าเมล็ดกัญชง
      สมูทตี้แตงโมฟื้นกำลัง

      วิธีทำสมูทตี้แตงโมฟื้นกำลัง

      หน่วยบริโภค: 1 ที่
      เวลาเตรียม: 5 นาที
      เวลาทั้งหมด: 5 นาที

      ส่วนผสม

      แตงโมหั่นสี่เหลี่ยม 152 กรัม
      กะหล่ำดอกหั่นชิ้นเล็กแช่แข็ง 100 กรัม
      มะม่วงหั่นสดหรือแช่แข็ง 40 กรัม
      น้ำมะนาวสด 30 มิลลิลิตร
      นมถั่ว 180 มิลลิลิตร
      เกสรผึ้ง 5 มิลลิลิตร ใส่เพิ่มเพื่อโรยหน้า
      เมล็ดกัญชง 5 มิลลิลิตร ใส่เพิ่มเพื่อโรยหน้า

      วิธีการ

      1. ใส่ส่วนผสมทั้งหมดลงในเครื่องปั่น ปั่นจนกว่าเนื้อจะเนียน
      2. โรยหน้าด้วยเกสรผึ้งและเมล็ดกัญชง แล้วดื่มอร่อยชื่นใจได้ทันทีด้วยหลอดแบบนำกลับมาใช้ซ้ำได้
      สมูทตี้แตงโมฟื้นกำลัง

      เข้าร่วม Nike Training Club

      เข้าถึงผู้เชี่ยวชาญและเทรนเนอร์ระดับโลกของเราเพื่อช่วยให้คุณคงความแอ็คทีฟและสุขภาพดีไว้เสมอ

      สมูทตี้แตงโมฟื้นกำลัง

      เข้าร่วม Nike Training Club

      เข้าถึงผู้เชี่ยวชาญและเทรนเนอร์ระดับโลกของเราเพื่อช่วยให้คุณคงความแอ็คทีฟและสุขภาพดีไว้เสมอ

      เผยแพร่ครั้งแรก: 9 มิถุนายน 2563