ทำงาน (พร้อมเรียกเหงื่อ) จากบ้าน: การระบาดใหญ่ทั่วโลกกำลังทำให้อนาคตของฟิตเนสเปลี่ยนไป

นวัตกรรม

ทั้งเหล่าเทรนเนอร์อาชีพและบรรดานักกีฬาทั่วไปต่างหันมาจริงจังกับเคล็ดลับ การปรับวิธี การแยกย่อย และแนวทางใหม่ๆ ในการทำให้ตัวเราแข็งแกร่งยิ่งขึ้น

อัพเดทล่าสุด: 22 ธันวาคม 2564
ใช้เวลาอ่าน 17 นาที
เคล็ดลับการออกกำลังกายที่บ้าน

“ทุกคนคือผู้สร้างนวัตกรรม” คือซีรีส์เกี่ยวกับความท้าทายที่เหล่านักกีฬาต้องเผชิญและเอาชนะด้วยแนวคิดนอกกรอบ

“มีหลายอย่างที่วางแผนไว้ว่าจะทำให้ได้” Joelle D’Fontaine กล่าว “แต่แล้วโคโรนาก็โผล่มาแล้วบอกว่า ‘ยังไม่ใช่วันนี้ย่ะ’”

ก่อนจะถึงปี 2020 D’Fontaine ซึ่งเป็นเทรนเนอร์ของ Nike และนักออกแบบท่าเต้นได้ใช้ชีวิตแบบที่ต้องไปๆ มาๆ ระหว่างสตูดิโอฟิตเนสเต้นของเขาในลอนดอนกับบรู๊คลินมานานหลายปี แต่เมื่อมีโควิด-19 เขากลับต้องติดอยู่กับบ้านแบบไม่ทันตั้งตัว แถมยังต้องห่างจากธุรกิจ ลูกค้า และพื้นที่ออกกำลังกายด้วย จึงใช้เวลาช่วงนี้พักผ่อนเหมือนอีกหลายพันล้านคนทั่วโลก (“นี่ว่าตัวเองดูอนิเมะจนหมดโลกแล้วมั้ง เรื่องห่วยๆ ก็ดูนะ”) จนปิ๊งไอเดียขึ้นมา

“อะไรครึ่งๆ กลางๆ นี่ไม่ทำนะบอกเลย ก็เลยไปนำไฟแท่งมา ทำผนังเป็นกระจก แล้วก็ได้เครื่องทำควันมาด้วย” D’Fontaine เล่าให้ฟังถึงการเปลี่ยนโฉมห้องนั่งเล่นในห้องพักที่ลอนดอนของเขาให้กลายไปเป็นแดนซ์ฟลอร์ แล้วก็ได้เริ่มสตรีมคลาสเรียนเต้นออนไลน์ให้กับนักเรียนจากทั่วทุกมุมโลก “เอาจริงคลาสคนอื่นก็ปังอยู่แหละ แต่ไม่ปังเวอร์เท่านี้หรอกนะพี่สาว”

เคล็ดลับฟิตเนสในยุคการระบาดทั่วโลกเคล็ดลับนี้คือ “ฟีลลิ่งมันต้องได้” Joelle D’Fontaine นักออกแบบท่าเต้นและครูฝึกฟิตเนสจึงเปลี่ยนโฉมห้องพักของตัวเองในลอนดอนด้วยเครื่องทำควันและไฟดิสโก้ เป็นการเพิ่มสีสันและความสนุกสนานให้กับนักเรียนในคลาสทาง Zoom ของเขา (คลิปจาก @joelledfontaine)

การเปลี่ยนตัวเองในช่วงกักตัวที่ D’Fontaine ทำนั้นสะท้อนให้เห็นสิ่งที่พวกเราทุกคนกำลังเผชิญได้อย่างเด่นชัด การระบาดทั่วโลกครั้งนี้เปลี่ยนวิถีชีวิตผู้คนไปแบบกลับหัวกลับหางในหลากหลายมิติจนนับไม่ถ้วน ซึ่งรวมไปถึงกิจวัตรการออกกำลังกายของเราด้วย แต่แค่ไม่มีอุปกรณ์ ขาดพื้นที่ และแน่นอนว่าแรงใจในการออกกำลังกายที่มลายหายไป ก็ไม่อาจทำให้เราหลุดออกจากแผนได้ ในทางกลับกัน ช่วงเวลานี้เปิดโอกาสให้เราได้หยุดพักสักระยะและหันมาลองคิดทบทวนว่าเราจะขยับร่างกายไปเพื่ออะไร ที่ไหน และอย่างไร

ตั้งแต่คนที่ชอบตัวจมติดเก้าอี้แต่เลือกออกมาลองวิ่งครั้งแรก ไปจนถึงนักกีฬาคนพิการที่ค้นพบว่าฟิตเนสที่เปิดรับทุกๆ คนอย่างเท่าเทียมจริงๆ เป็นอย่างไร การเปลี่ยนแปลงครั้งนี้คือการปรับเปลี่ยนสิ่งที่เป็นอยู่ซึ่งควรจะเกิดขึ้นมาตั้งนานแล้ว

แต่หนทางก็ไม่ได้โรยไปด้วยกลีบกุหลาบเสมอไป

1/6
เคล็ดลับการออกกำลังกายที่บ้าน
2/6
เคล็ดลับการออกกำลังกายที่บ้าน
3/6
เคล็ดลับการออกกำลังกายที่บ้าน
4/6
เคล็ดลับการออกกำลังกายที่บ้าน
5/6
เคล็ดลับการออกกำลังกายที่บ้าน
6/6
เคล็ดลับการออกกำลังกายที่บ้าน

ย่านบร็องซ์ นิวยอร์ก ในเดือนกันยายน 2020 เทรนเนอร์ Anwar Carroll ได้พบปะแลกเปลี่ยนกับ Miranda Martell นักเรียนคนหนึ่งของเขาในเซสชันเทรนนิ่งออนไลน์ Carroll ได้แก้ปัญหาเรื่องการขาดอุปกรณ์โดยใช้ทางออกที่แหวกแนว เขานำอุปกรณ์ที่มีอยู่แล้วในบ้านมาใช้ เช่น นำกระป๋องซุปหลายๆ กระป๋องมาติดกาวเข้าด้วยกัน นำสิ่งของมาใส่ในกระเป๋า Duffel เพื่อถ่วงให้มีน้ำหนัก ไปจนถึงการเทปูนใส่ท่อพีวีซี

1/3
เคล็ดลับการออกกำลังกายที่บ้าน
2/3
เคล็ดลับการออกกำลังกายที่บ้าน
3/3
เคล็ดลับการออกกำลังกายที่บ้าน

ย่านบร็องซ์ นิวยอร์ก ในเดือนกันยายน 2020 เทรนเนอร์ Anwar Carroll ได้พบปะแลกเปลี่ยนกับ Miranda Martell นักเรียนคนหนึ่งของเขาในเซสชันเทรนนิ่งออนไลน์ Carroll ได้แก้ปัญหาเรื่องการขาดอุปกรณ์โดยใช้ทางออกที่แหวกแนว เขานำอุปกรณ์ที่มีอยู่แล้วในบ้านมาใช้ เช่น นำกระป๋องซุปหลายๆ กระป๋องมาติดกาวเข้าด้วยกัน นำสิ่งของมาใส่ในกระเป๋า Duffel เพื่อถ่วงให้มีน้ำหนัก ไปจนถึงการเทปูนใส่ท่อพีวีซี

ทุกปัญหามีทางออก: เมื่ออุปกรณ์ออกกำลังกายขาดตลาด เหล่านักกีฬาก็ปิ๊งไอเดียสุดบรรเจิด

นอกจากจะมีมหากาพย์การกักตุนทิชชูแห่งปี 2020 เกิดขึ้นตามซูเปอร์มาร์เก็ตทั่วโลกแล้ว การขาดแคลนเครื่องใช้อีกประเภทหนึ่งก็มาเยือนโลกฟิตเนสด้วยเช่นกัน

“ดัมเบลล์ราคาพุ่งพรวดเป็นร้อยเหรียญเลยค่ะ จะหาซื้ออุปกรณ์อะไรก็ลำบาก” Jennifer Lau ผู้เป็น Nike Master Trainer ในโทรอนโตเล่าถึงสถานการณ์ในช่วงนั้น “ตอนหิ้วดัมเบลล์ขึ้นรถ จะชอบมีคนแปลกหน้าจากไหนก็ไม่รู้พากันเข้ามาทักตลอดทางเลย ถามฉันว่า ‘ไปได้ดัมเบลล์มาจากไหนเหรอ’”

เมื่อยิมต่างๆ ต้องปิดให้บริการ ความต้องการในเรื่องอุปกรณ์ออกกำลังกายก็พุ่งทะยานเสียดฟ้าทันที ผู้คนต่างแย่งชิงกันมองหาอุปกรณ์ออกกำลังกายที่บ้าน แต่อย่างที่ว่ากันว่าความจำเป็นนั้นคือบ่อเกิดแห่งการประดิษฐ์คิดค้น มนุษย์เราเองก็ช่างคิดกันขึ้นมาจริงๆ ไม่ว่าจะเป็นการเล่นท่ายกน้ำหนักที่ม้านั่งโดยใช้เครื่องดูดฝุ่น หรือการเทปูนใส่ท่อพีวีซีเพื่อทำเป็นลูกถ่วงน้ำหนักชั่วคราว นักประดิษฐ์ช่างคิดทุกหนแห่งได้พิสูจน์แล้วว่าไม่เคยติดอยู่แต่ในกรอบเมื่อเป็นเรื่องของการออกกำลังกายให้ได้ผลดี

Lau เล่าให้ฟังว่า “พวกเราเคยเจอนักเรียนที่ยัดของใส่กระเป๋าเดินทางจนแน่นเพื่อใช้ประกอบท่าเดดลิฟต์หรือกอดไว้ตอนทำท่าสควอทด้วย” บางคนถึงกับเอาขวดน้ำยาทำความสะอาดมาใช้แทนเคตเทิลเบลล์ ถือเป็นการยกระดับทักษะการโค้ชทางไกลของ Lau ไปอีกขั้น “ฉันก็ไม่รู้ค่ะว่าจะสอนวิธีทำท่าคลีนโดยใช้ขวดน้ำยาฟอกขาวยังไงดี” เธอหัวเราะ

หันมาพลิกแพลงอุปกรณ์

นอกจากจะมีมหากาพย์การกักตุนทิชชูแห่งปี 2020 เกิดขึ้นตามซูเปอร์มาร์เก็ตทั่วโลกแล้ว การขาดแคลนเครื่องใช้อีกประเภทหนึ่งก็มาเยือนโลกฟิตเนสด้วยเช่นกัน

“ดัมเบลล์ราคาพุ่งพรวดเป็นร้อยเหรียญเลยค่ะ จะหาซื้ออุปกรณ์อะไรก็ลำบาก” Jennifer Lau ผู้เป็น Nike Master Trainer ในโทรอนโตเล่าถึงสถานการณ์ในช่วงนั้น “ตอนหิ้วดัมเบลล์ขึ้นรถ จะชอบมีคนแปลกหน้าจากไหนก็ไม่รู้พากันเข้ามาทักตลอดทางเลย ถามฉันว่า ‘ไปได้ดัมเบลล์มาจากไหนเหรอ’”

เมื่อยิมต่างๆ ต้องปิดให้บริการ ความต้องการในเรื่องอุปกรณ์ออกกำลังกายก็พุ่งทะยานเสียดฟ้าทันที ผู้คนต่างแย่งชิงกันมองหาอุปกรณ์ออกกำลังกายที่บ้าน แต่อย่างที่ว่ากันว่าความจำเป็นนั้นคือบ่อเกิดแห่งการประดิษฐ์คิดค้น มนุษย์เราเองก็ช่างคิดกันขึ้นมาจริงๆ ไม่ว่าจะเป็นการเล่นท่ายกน้ำหนักที่ม้านั่งโดยใช้เครื่องดูดฝุ่น หรือการเทปูนใส่ท่อพีวีซีเพื่อทำเป็นลูกถ่วงน้ำหนักชั่วคราว นักประดิษฐ์ช่างคิดทุกหนแห่งได้พิสูจน์แล้วว่าไม่เคยติดอยู่แต่ในกรอบเมื่อเป็นเรื่องของการออกกำลังกายให้ได้ผลดี

Lau เล่าให้ฟังว่า “พวกเราเคยเจอนักเรียนที่ยัดของใส่กระเป๋าเดินทางจนแน่นเพื่อใช้ประกอบท่าเดดลิฟต์หรือกอดไว้ตอนทำท่าสควอทด้วย” บางคนถึงกับเอาขวดน้ำยาทำความสะอาดมาใช้แทนเคตเทิลเบลล์ ถือเป็นการยกระดับทักษะการโค้ชทางไกลของ Lau ไปอีกขั้น “ฉันก็ไม่รู้ค่ะว่าจะสอนวิธีทำท่าคลีนโดยใช้ขวดน้ำยาฟอกขาวยังไงดี” เธอหัวเราะ

เคล็ดลับฟิตเนสในยุคการระบาดทั่วโลกเคล็ดลับนี้คือ “โค้ช” Chris Bennett จาก Nike แนะนำให้ทุกคน “เคารพเพื่อนร่วมทาง” โดยทำตัวให้เล็กที่สุดในเส้นทางวิ่งด้วยการสวมใส่หน้ากากเสมอและคอยหลีกทางให้ผู้อื่น ขณะที่ Jennifer Lau ก็เชิญชวนให้เรา “ค้างท่าเอาไว้” โดยเธอได้สำรวจเทคนิคการใช้เวลาภายใต้แรงต้านเพื่อดึงประสิทธิภาพจากการออกกำลังกายแบบบอดี้เวทออกมาให้ได้มากที่สุด ถึงขั้นที่เธอตะลึงปนดีใจเมื่อรับรู้ว่าร่างกายปวดเมื่อยเพียงใดในวันรุ่งขึ้น (คลิปจาก @coachbennett และ @itsjenniferlau)

ขณะที่บางคนนำของที่มีมาประยุกต์ใช้ในการออกกำลังกาย หลายคนก็หันมาหาการออกกำลังกายที่ขึ้นชื่อเรื่องการใช้อุปกรณ์น้อยชิ้น ซึ่งก็คือการวิ่งนั่นเอง

“ความเจ๋งของการวิ่งก็คือแค่มีรองเท้าคู่เดียวก็ลุยได้แล้ว” Kiran Kripakaran กล่าว เขาคือผู้อำนวยการฝ่ายผลิตภัณฑ์ดิจิทัลสำหรับแอพ Nike Run Club ซึ่งสังเกตเห็นกระแสตื่นตัวในการวิ่งที่เพิ่มขึ้นตั้งแต่มีการระบาดใหญ่ โดยเห็นจำนวนผู้ใช้งานของ NRC ที่ยังใช้งานอยู่รายสัปดาห์เพิ่มขึ้นแทบจะทวีคูณแบบปีต่อปี “เหมือนสัญชาตญาณสั่งให้เราวิ่งเลย เมื่อต้องเจอกับวิกฤตการณ์ที่เกินคาดแบบนี้” เขาตั้งข้อสังเกต “เราจึงรู้สึกอยากที่จะหนี ไม่อยากอยู่นิ่งๆ เป็นเป้า”

“โค้ช” Chris Bennett ผู้อำนวยการอาวุโสด้านคำแนะนำการวิ่งของ Nike บอกว่าอุปกรณ์ประกอบการวิ่งอีกอย่างที่ขาดไม่ได้เลยในช่วงนี้ก็คือหน้ากาก พร้อมแนะนำว่าให้เรา “ทำตัวให้เล็กที่สุดในเส้นทางวิ่ง ไม่ว่าจะเป็นเส้นทางเทรล ลู่วิ่ง หรือท้องถนน แล้วการวิ่งนั้นจะราบรื่นด้วยดีแน่นอน”

1/6
เคล็ดลับการออกกำลังกายที่บ้าน
2/6
เคล็ดลับการออกกำลังกายที่บ้าน
3/6
เคล็ดลับการออกกำลังกายที่บ้าน
4/6
เคล็ดลับการออกกำลังกายที่บ้าน
5/6
เคล็ดลับการออกกำลังกายที่บ้าน
6/6
เคล็ดลับการออกกำลังกายที่บ้าน

ย่านบรู๊คลิน นิวยอร์ก ในเดือนกันยายน 2020 Shannon Green และลูกๆ อายุ 9 และ 12 ปี ไลฟ์สตรีมเซสชันเทรนนิ่งกับ Carroll เด็กๆ มาร่วมออกกำลังกายกับคุณแม่ (บ้าง) ตั้งแต่ที่มีโควิด-19 ระบาด ผนังในห้องนั่งเล่นเต็มไปด้วยกระดาษจดการออกกำลังกายประจำวันที่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ในช่วงเวลาหลายเดือนที่ผ่านมา

1/3
เคล็ดลับการออกกำลังกายที่บ้าน
2/3
เคล็ดลับการออกกำลังกายที่บ้าน
3/3
เคล็ดลับการออกกำลังกายที่บ้าน

ย่านบรู๊คลิน นิวยอร์ก ในเดือนกันยายน 2020 Shannon Green และลูกๆ อายุ 9 และ 12 ปี ไลฟ์สตรีมเซสชันเทรนนิ่งกับ Carroll เด็กๆ มาร่วมออกกำลังกายกับคุณแม่ (บ้าง) ตั้งแต่ที่มีโควิด-19 ระบาด ผนังในห้องนั่งเล่นเต็มไปด้วยกระดาษจดการออกกำลังกายประจำวันที่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ในช่วงเวลาหลายเดือนที่ผ่านมา

ยิมนอกยิม: การค้นหาพื้นที่ใหม่ให้ขยับตัว

แม้ว่าการวิ่งกำลังเป็นที่นิยมสุดๆ แต่ก็ไม่ใช่ทุกคนที่จะออกไปวิ่งได้ สำหรับบางคนแล้ว โลกทั้งใบถูกย่อให้เหลือเพียงพื้นที่ไม่กี่ตารางเมตร

“ความท้าทายครั้งใหญ่ที่สุดคือการสร้างพื้นที่สำหรับการออกกำลังกายในอพาร์ตเมนต์ค่ะ” Shannon Green กล่าว เธอเป็นทนายความและคุณแม่ที่อาศัยอยู่ในมหานครนิวยอร์ก ก่อนที่เมืองจะล็อคดาวน์ เธอเข้าฟิตเนสสัปดาห์ละ 6 ครั้ง โดยเข้าคลาสแบบเป็นกลุ่มกับ “แก๊ง 6 โมงเช้า” ของเธอ แต่การต้องกักตัวอยู่บ้านร่วมกับลูกๆ และสามีนั้นก็ได้ทำให้การออกกำลังกายตามปกติกลายเป็นเรื่องยากไป “พื้นที่นั่งเล่นในบ้านไม่ได้กั้นเป็นสัดส่วนเอาไว้ค่ะ เลยมักจะมีหนังสือ ของเล่น ไม่ก็เด็กๆ นั่งเล่นอยู่บนพื้น” เธอเล่า “การออกกำลังกายที่บ้านก็เลยอาจจะไปเกะกะเวลาที่สมาชิกคนอื่นในบ้านทำกิจกรรมอื่นอยู่”

ถึงจะมีพื้นที่เดียวจนต้องอัดเป็นปลากระป๋องเพื่อทำงาน ออกกำลังกาย หรือทำอย่างอื่น แต่นั่นก็ไม่ทำให้นักกีฬาเลิกคิดหาทางขยับร่างกาย

“ไม่ว่าจะมีพื้นที่มากน้อยแค่ไหน เราก็จะหาวิธีวิ่ง จ็อกกิ้ง เดิน หรือขึ้นบันได” Kripakaran กล่าว เทรนเนอร์หลายคนเล่าว่านักเรียนมักจัดโซฟาในแนวขวางและเคลียร์พื้นที่เก็บของเพื่อใช้ออกกำลังกาย แถมยังมีรายงานว่าชายคนหนึ่งในหางโจว ประเทศจีน วิ่งมาราธอนจนครบระยะทางโดยวิ่งวนรอบเฟอร์นิเจอร์ในบ้านไปเรื่อยๆ อีกด้วย

สำหรับคนที่ยังไม่รู้ว่าพื้นที่ออกกำลังกายตามปกติของตนยังขาดอะไรไปบ้างก่อนจะเกิดการระบาดใหญ่ การใช้เวลาที่บ้านคราวนี้ก็ได้ช่วยเปิดโอกาสดีๆ ที่ไม่เคยเจอมาก่อนในการออกกำลังกายในแบบของตัวเอง

“กลายเป็นว่าผมแข็งแรงกว่า [ช่วงที่] เล่นฟิตเนสที่อื่นอีกครับ” Wesley Hamilton กล่าว เขาคือนักกีฬาคนพิการที่เพิ่งแปลงโฉมโรงรถที่บ้านในแคนซัสซิตีให้กลายเป็นสุดยอดยิมทำเองที่ตรงใจเขาที่สุด เพราะเวลาไปเข้าฟิตเนสทั่วไป ผู้คนมักชอบมองเขาเวลานั่งวีลแชร์ยกน้ำหนัก รวมถึงรู้สึกถูกกีดกันจากอุปกรณ์ที่ไม่เป็นไปตามกฎหมายคนพิการอเมริกัน

พื้นที่ใหม่ให้ขยับตัว

แม้ว่าการวิ่งกำลังเป็นที่นิยมสุดๆ แต่ก็ไม่ใช่ทุกคนที่จะออกไปวิ่งได้ สำหรับบางคนแล้ว โลกทั้งใบถูกย่อให้เหลือเพียงพื้นที่ไม่กี่ตารางเมตร

“ความท้าทายครั้งใหญ่ที่สุดคือการสร้างพื้นที่สำหรับการออกกำลังกายในอพาร์ตเมนต์ค่ะ” Shannon Green กล่าว เธอเป็นทนายความและคุณแม่ที่อาศัยอยู่ในมหานครนิวยอร์ก ก่อนที่เมืองจะล็อคดาวน์ เธอเข้าฟิตเนสสัปดาห์ละ 6 ครั้ง โดยเข้าคลาสแบบเป็นกลุ่มกับ “แก๊ง 6 โมงเช้า” ของเธอ แต่การต้องกักตัวอยู่บ้านร่วมกับลูกๆ และสามีนั้นก็ได้ทำให้การออกกำลังกายตามปกติกลายเป็นเรื่องยากไป “พื้นที่นั่งเล่นในบ้านไม่ได้กั้นเป็นสัดส่วนเอาไว้ค่ะ เลยมักจะมีหนังสือ ของเล่น ไม่ก็เด็กๆ นั่งเล่นอยู่บนพื้น” เธอเล่า “การออกกำลังกายที่บ้านก็เลยอาจจะไปเกะกะเวลาที่สมาชิกคนอื่นในบ้านทำกิจกรรมอื่นอยู่”

ถึงจะมีพื้นที่เดียวจนต้องอัดเป็นปลากระป๋องเพื่อทำงาน ออกกำลังกาย หรือทำอย่างอื่น แต่นั่นก็ไม่ทำให้นักกีฬาเลิกคิดหาทางขยับร่างกาย

“ไม่ว่าจะมีพื้นที่มากน้อยแค่ไหน เราก็จะหาวิธีวิ่ง จ็อกกิ้ง เดิน หรือขึ้นบันได” Kripakaran กล่าว เทรนเนอร์หลายคนเล่าว่านักเรียนมักจัดโซฟาในแนวขวางและเคลียร์พื้นที่เก็บของเพื่อใช้ออกกำลังกาย แถมยังมีรายงานว่าชายคนหนึ่งในหางโจว ประเทศจีน วิ่งมาราธอนจนครบระยะทางโดยวิ่งวนรอบเฟอร์นิเจอร์ในบ้านไปเรื่อยๆ อีกด้วย

สำหรับคนที่ยังไม่รู้ว่าพื้นที่ออกกำลังกายตามปกติของตนยังขาดอะไรไปบ้างก่อนจะเกิดการระบาดใหญ่ การใช้เวลาที่บ้านคราวนี้ก็ได้ช่วยเปิดโอกาสดีๆ ที่ไม่เคยเจอมาก่อนในการออกกำลังกายในแบบของตัวเอง

“กลายเป็นว่าผมแข็งแรงกว่า [ช่วงที่] เล่นฟิตเนสที่อื่นอีกครับ” Wesley Hamilton กล่าว เขาคือนักกีฬาคนพิการที่เพิ่งแปลงโฉมโรงรถที่บ้านในแคนซัสซิตีให้กลายเป็นสุดยอดยิมทำเองที่ตรงใจเขาที่สุด เพราะเวลาไปเข้าฟิตเนสทั่วไป ผู้คนมักชอบมองเขาเวลานั่งวีลแชร์ยกน้ำหนัก รวมถึงรู้สึกถูกกีดกันจากอุปกรณ์ที่ไม่เป็นไปตามกฎหมายคนพิการอเมริกัน

เคล็ดลับฟิตเนสในยุคการระบาดทั่วโลกเคล็ดลับนี้คือ “ยกภูเขามาไว้ใกล้ตัว” เมื่อไม่ได้ทำกิจกรรมออกกำลังกายที่เคยทำเป็นประจำเพราะสวนสาธารณะต้องปิดให้บริการ สมาชิกกลุ่มปีนเขาของ Jackelyn Ho จึงสร้างกำแพงหินที่บ้านเองเสียเลย ขณะที่ Wesley Hamilton ก็บอกว่า “สร้างเองตามที่เราชอบเลย” เพราะรู้สึกสบายใจในโรงรถที่ปรับแต่งเองมากกว่าเวลาไปออกกำลังกายที่ฟิตเนสทั่วไป แถมยังยกน้ำหนักได้มากกว่าที่เคยอีกด้วย (คลิปจาก @jackelynho และ @iamweshamilton)

ข้อจำกัดดังกล่าวนั้นหายไปเมื่อ Hamilton ออกกำลังกายในพื้นที่ของตัวเอง และจนถึงตอนนี้เขาก็ยกท่าบริหารอกโดยใช้น้ำหนักได้ถึง 275 ปอนด์ ทั้งที่เมื่อก่อนได้เยอะสุดเพียง 200 “ไม่ใช่ว่าอยู่ๆ ผมก็แข็งแรงขึ้นมานะ” เขาบอก “ที่ผมแข็งแรงขึ้นก็เพราะไม่ต้องคอยมาเกร็งเหมือนก่อนแล้ว”

นอกจากการปรับแต่งพื้นที่ใช้สอยแล้ว เหล่านักกีฬายังได้สำรวจช่องทางใหม่ๆ บนพื้นที่ทางดิจิทัลอีกด้วย

“สิ่งที่กำลังเกิดขึ้นอยู่คือสิ่งที่เราควรจะทำมานานแล้ว คือให้บริการผู้คนทั่วโลก” D’Fontaine กล่าว ทุกวันนี้คลาสฟิตเนสเต้นของเขาเข้าถึงผู้คนได้กว้างไกลยิ่งกว่าตอนอยู่ในสตูดิโอที่บรู๊คลินกับลอนดอนเสียอีก เขาตั้งข้อสังเกตว่าความท้าทายในการสอนเต้นออนไลน์อยู่ตรงที่การที่มีหน้าจอนักเรียนปิดเสียงไว้เต็มไปหมด พร้อมเสนอว่าแพลตฟอร์มดิจิทัลยังพัฒนาไปมากกว่านี้ได้อีก “คือนี่ชอบเล่นเยอะเล่นใหญ่ไปหมดไง เลยอยากได้อะไรที่มาทำให้นักเรียนได้สัมผัสประสบการณ์ให้เต็มที่ยิ่งขึ้น สนุกยิ่งขึ้น แล้วก็ต้องจัดหนักจัดเต็มให้สุดๆ ไปเลย”

ขณะที่ฟิตเนสบางแห่งเริ่มกลับมาเปิดให้บริการอีกครั้ง เทรนด์การประยุกต์ใช้พื้นที่ที่สร้างสรรค์และเปิดกว้างเพื่อทุกคนก็กำลังเกิดขึ้นมาอีกรอบ ควบคู่ไปกับการใช้มาตรการป้องกันที่เหมาะสม อย่างยิมของ Lau ในโทรอนโตที่ได้เริ่มมีคลาสสำหรับทั้งแบบเดินทางมาร่วมหรือแบบออนไลน์เพื่อจำกัดจำนวนคนที่มายิมให้มีจำนวนน้อย เซสชันแบบส่วนตัวจะจัดขึ้นภายใน “พ็อด” ที่กั้นพื้นที่ไว้ด้วยเทปเพื่อรักษาระยะห่างระหว่างกัน

Hamilton เปิดฟิตเนสโรงรถของตนให้กับนักกีฬาคนพิการคนอื่นๆ ควบคู่ไปกับการสร้างฟิตเนสเคลื่อนที่ในรถบ้านที่ขับไปยังสวนสาธารณะในละแวกที่อยู่ได้ (พร้อมอุปกรณ์รักษาความสะอาดแบบครบครัน) “ตอนนี้ผมเทรนให้คนพิการ 5 คนครับ” เขาเล่า “การที่ได้ยินว่าพื้นที่นี้ช่วยเปิดโลกให้คนอื่นๆ เป็นที่ที่พวกเขาเข้ามาแล้วรู้สึกสบายใจได้เหมือนกัน เป็นสิ่งที่เพิ่มแรงใจให้ผมได้มากที่สุดในชีวิตเลย”

1/6
เคล็ดลับการออกกำลังกายที่บ้าน
2/6
เคล็ดลับการออกกำลังกายที่บ้าน
3/6
เคล็ดลับการออกกำลังกายที่บ้าน
4/6
เคล็ดลับการออกกำลังกายที่บ้าน
5/6
เคล็ดลับการออกกำลังกายที่บ้าน
6/6
เคล็ดลับการออกกำลังกายที่บ้าน

ย่านบรู๊คลิน นิวยอร์ก ในเดือนกันยายน 2020 Carroll นำเซสชันการเทรนแบบเว้นระยะห่างที่สนามแฮนด์บอลใน Stroud Playground พร้อมใส่เครื่องปกปิดใบหน้า ใช้อุปกรณ์ถ่วงน้ำหนักแบบแก้ขัด และมีเครื่องพ่นละอองฝอยสำหรับฆ่าเชื้ออุปกรณ์ต่างๆ เป็นสัญลักษณ์ที่สื่อถึงช่วงเวลานี้ได้ดี นักเรียนที่ต้องการทำจากที่บ้านก็สามารถเข้าร่วมทางดิจิทัลได้เช่นกัน

1/3
เคล็ดลับการออกกำลังกายที่บ้าน
2/3
เคล็ดลับการออกกำลังกายที่บ้าน
3/3
เคล็ดลับการออกกำลังกายที่บ้าน

ย่านบรู๊คลิน นิวยอร์ก ในเดือนกันยายน 2020 Carroll นำเซสชันการเทรนแบบเว้นระยะห่างที่สนามแฮนด์บอลใน Stroud Playground พร้อมใส่เครื่องปกปิดใบหน้า ใช้อุปกรณ์ถ่วงน้ำหนักแบบแก้ขัด และมีเครื่องพ่นละอองฝอยสำหรับฆ่าเชื้ออุปกรณ์ต่างๆ เป็นสัญลักษณ์ที่สื่อถึงช่วงเวลานี้ได้ดี นักเรียนที่ต้องการทำจากที่บ้านก็สามารถเข้าร่วมทางดิจิทัลได้เช่นกัน

ต้องฝ่าฟันไปให้ได้: วิธีสร้างแรงใจไม่ให้ขาดสาย

แม้ว่านักกีฬาทุกคนจะตั้งใจมองหาวิธีพุ่งไปสู่เป้าหมาย ก็จะมีบางคนที่ประสบปัญหากับการออกกำลังกายตามแผน ไม่ว่าจะเป็นคุณพ่อคุณแม่ที่ทำงานไปด้วย นักศึกษาที่มีเรื่องราวหนักใจมากมาย หรือหนึ่งในอีกหลายล้านคนที่ถูกเลิกจ้างเนื่องจากกิจการปิดตัวลง การให้ความสำคัญกับการออกกำลังกายอาจจะเป็นเรื่องที่ลำบาก แต่ก็เป็นสิ่งสำคัญมากๆ เช่นกันในยุคนี้มากยิ่งกว่าที่เคย

“คุณคงเคยได้ยินมาบ่อยแล้วว่าให้ใส่หน้ากากออกซิเจนให้ตัวเองก่อน” Katie Ruoff กล่าว เธอคือผู้อำนวยการฝ่ายสินค้าดิจิทัลสำหรับแอพ Nike Training Club ก่อนที่คุณจะยื่นมือช่วยเหลือคนอื่นได้ คุณจะต้องดูแลตัวเองก่อน

การดูแลตัวเองที่ว่าอาจมาในรูปแบบต่างๆ เมื่อเหตุการณ์ระบาดครั้งใหญ่เริ่มระบาดในช่วงแรก Ruoff และทีมของเธอคิดว่าผู้ใช้ NTC จะหันมาฝึกโยคะกันเยอะเพื่อสงบจิตใจท่ามกลางความวุ่นวาย แต่ข้อมูลที่ได้เผยให้เห็นว่าการออกกำลังกายแบบเข้มข้นสูงต่างหากที่มียอดพุ่งสูงขึ้น “คนเครียดกันค่ะ” Ruoff กล่าว “พอเครียดก็อยากปลดปล่อยด้วยการเสียเหงื่อ”

การเริ่มจากก้าวเล็กๆ ก็ใช้ได้เช่นกัน อย่างครูสอนเต้น D’Fontaine เองก็บอกว่าบางครั้งเขาก็ทำท่าสะพานบั้นท้ายขาเดียวสักนิดหน่อยขณะเล่นวิดีโอเกมและมองว่าประสบความสำเร็จแล้ว เขาบอกว่า “ต้องรู้สึกโอเคกับสิ่งที่ทำและพอดีกับตัวเอง ไม่ต้องไปรู้สึกว่าเราทุกคนต้องเป็นเหมือน Serena Williams”

Green คุณแม่ลูก 2 ในนครนิวยอร์กก็มีคำแนะนำคล้ายๆ กันให้กับคุณพ่อคุณแม่คนอื่นๆ คือทำสิ่งที่ทำได้ในช่วงเวลาที่ทำได้ “บางวันอาจเหลือแรงและมีเวลาว่างให้ออกกำลังกายได้แค่ 7 นาที แถมบางวันแค่ออกกำลังกายไปครึ่งทางก็จะรู้สึกว่าพอแล้วแหละ” เธอกล่าว “ซึ่งนั่นก็นับว่าเป็นความสำเร็จที่ได้ออกกำลังกายได้เช่นกัน”

วิธีสร้างแรงใจไม่ให้ขาดสาย

แม้ว่านักกีฬาทุกคนจะตั้งใจมองหาวิธีพุ่งไปสู่เป้าหมาย ก็จะมีบางคนที่ประสบปัญหากับการออกกำลังกายตามแผน ไม่ว่าจะเป็นคุณพ่อคุณแม่ที่ทำงานไปด้วย นักศึกษาที่มีเรื่องราวหนักใจมากมาย หรือหนึ่งในอีกหลายล้านคนที่ถูกเลิกจ้างเนื่องจากกิจการปิดตัวลง การให้ความสำคัญกับการออกกำลังกายอาจจะเป็นเรื่องที่ลำบาก แต่ก็เป็นสิ่งสำคัญมากๆ เช่นกันในยุคนี้มากยิ่งกว่าที่เคย

“คุณคงเคยได้ยินมาบ่อยแล้วว่าให้ใส่หน้ากากออกซิเจนให้ตัวเองก่อน” Katie Ruoff กล่าว เธอคือผู้อำนวยการฝ่ายสินค้าดิจิทัลสำหรับแอพ Nike Training Club ก่อนที่คุณจะยื่นมือช่วยเหลือคนอื่นได้ คุณจะต้องดูแลตัวเองก่อน

การดูแลตัวเองที่ว่าอาจมาในรูปแบบต่างๆ เมื่อเหตุการณ์ระบาดครั้งใหญ่เริ่มระบาดในช่วงแรก Ruoff และทีมของเธอคิดว่าผู้ใช้ NTC จะหันมาฝึกโยคะกันเยอะเพื่อสงบจิตใจท่ามกลางความวุ่นวาย แต่ข้อมูลที่ได้เผยให้เห็นว่าการออกกำลังกายแบบเข้มข้นสูงต่างหากที่มียอดพุ่งสูงขึ้น “คนเครียดกันค่ะ” Ruoff กล่าว “พอเครียดก็อยากปลดปล่อยด้วยการเสียเหงื่อ”

การเริ่มจากก้าวเล็กๆ ก็ใช้ได้เช่นกัน อย่างครูสอนเต้น D’Fontaine เองก็บอกว่าบางครั้งเขาก็ทำท่าสะพานบั้นท้ายขาเดียวสักนิดหน่อยขณะเล่นวิดีโอเกมและมองว่าประสบความสำเร็จแล้ว เขาบอกว่า “ต้องรู้สึกโอเคกับสิ่งที่ทำและพอดีกับตัวเอง ไม่ต้องไปรู้สึกว่าเราทุกคนต้องเป็นเหมือน Serena Williams”

Green คุณแม่ลูก 2 ในนครนิวยอร์กก็มีคำแนะนำคล้ายๆ กันให้กับคุณพ่อคุณแม่คนอื่นๆ คือทำสิ่งที่ทำได้ในช่วงเวลาที่ทำได้ “บางวันอาจเหลือแรงและมีเวลาว่างให้ออกกำลังกายได้แค่ 7 นาที แถมบางวันแค่ออกกำลังกายไปครึ่งทางก็จะรู้สึกว่าพอแล้วแหละ” เธอกล่าว “ซึ่งนั่นก็นับว่าเป็นความสำเร็จที่ได้ออกกำลังกายได้เช่นกัน”

เคล็ดลับฟิตเนสในยุคการระบาดทั่วโลกเคล็ดลับนี้คือ “รู้ว่าต้องผ่อนคลายเมื่อไหร่ และต้องออกแรงสุดตัวเมื่อไหร่” โปรแกรมเทรนนิ่งซิกเนเจอร์ของ Ale Llosa ผสานโยคะเข้ากับศิลปะการป้องกันตัวไว้ในระดับที่เท่าๆ กัน (คลิปจาก @alellosako)

การมีแรงบันดาลใจอยู่เสมอก็มีส่วนเกี่ยวข้องกับการติดต่อกับผู้คนรอบตัวอยู่เสมอด้วย แม้ว่าจะไม่ได้เจอกันตัวเป็นๆ ก็ตาม

“คนเราชอบที่จะลำบากไปด้วยกันค่ะ” Ruoff พูดติดตลก เธอออกกำลังกายกับเพื่อนร่วมงาน 3 ครั้งต่อสัปดาห์ผ่าน Zoom “นั่นเป็นส่วนสำคัญของชุมชนเลยนะคะ”

ถ้าคุณยังไม่มีเพื่อนออกกำลังกาย ก็อย่าดูแคลนพลังแห่งโซเชียลมีเดีย “ผมแลกเปลี่ยนเรื่องราวความสำเร็จกับคน 100 คนที่ไม่ซ้ำกันเลยในทุกๆ เช้า” โค้ช Bennett เล่าถึงเซสชันการแบ่งปันเรื่องราวประจำวันของตัวเอง โดยที่เขาจะประกาศเรื่องเล่าหลังวิ่งของเพื่อนนักวิ่งจากทั่วโลก “แล้วผมก็จะรู้สึกมีแรงใจไปตลอดวันเลยครับ”

Bennett เชื่อว่าการออกกำลังกายช่วยสร้างความเปลี่ยนแปลงจากจุดเล็กๆ ให้กระจายเป็นวงกว้างได้ พอถึงคราวหน้าที่คุณกำลังบ่นงึมงำว่าจะออกกำลังกายดีไหม ให้นึกไว้ว่านอกจากการออกกำลังกายจะช่วยให้คุณมีแรงใจได้แล้ว ยังช่วยคนที่อยู่รอบๆ ตัวคุณให้มีแรงใจขึ้นได้อีกด้วย

“การออกมาวิ่งจะให้ผลดีเสมอครับ” Bennett กล่าว “เวลาที่มีคนวิ่งจนจบ พวกเขาจะฉุนเฉียวน้อยลงเมื่อขับรถบนทางด่วน มีแนวโน้มที่จะสละที่นั่งบนรถไฟฟ้ามากขึ้น ลองคิดดูว่าถ้าอีกหลายล้านคนทำเหมือนกัน โลกใบนี้ก็จะน่าอยู่ขึ้นและควรค่าแก่การตื่นขึ้นมาในวันต่อไปยิ่งขึ้น”

อนาคตแห่งฟิตเนส

ในช่วงเวลาที่เกิดการระบาดใหญ่ทั่วโลก ไม่แปลกที่พวกเราทุกคนจะถอยมาหนึ่งก้าวเพื่อตกตะกอนความคิด รีเซ็ต และกลับมาให้ความสำคัญกับสุขภาพของเราใหม่ การเปลี่ยนแปลงนี้จะทำให้เราแข็งแรงและฉลาดยิ่งขึ้น และจะเปลี่ยนโฉมกีฬาให้ดียิ่งขึ้น ตราบใดที่เราก้าวไปข้างหน้าเพื่อตัวเราและคนรุ่นใหม่

“ลูกๆ ของฉันกำลังเรียนรู้ว่าฟิตเนสมีหลายรูปแบบค่ะ” Green กล่าว “บางครั้งก็เป็นปาร์ตี้เต้นสนุกๆ หรือกระโดดบนเฟอร์นิเจอร์ หรือการให้เด็กๆ ขี่หลัง”

นักกีฬาก็ใช้ช่วงเวลานี้ในการทำให้กีฬาเป็นเรื่องของทุกคน อย่างที่ D’Fontaine เทรนเนอร์ของ Nike ได้บอกไว้ว่าสถานการณ์เช่นนี้กำลังเรียกร้องให้เราลงมือสร้างความเปลี่ยนแปลงให้เกิดขึ้นจริง

“คำว่าจริงที่ว่านี้คือการลงมือทำจริงๆ ให้กับคนจริงๆ ในช่วงเวลาที่กำลังเกิดขึ้นจริง” เขาอธิบาย “เป็นการขยายขอบเขตฟิตเนสให้ครอบคลุม ไม่ว่าจะมีเงินขนาดไหน ชนชั้นอะไร ไปจนถึงเพศวิถี สีผิว หรือศาสนาที่นับถือ ทุกอย่างเลย”

แม้ว่าจะเจอความท้าทายครั้งใหญ่ แต่เราก็กำลังเห็นทัศนคติแบบนี้ที่เริ่มกลายมาเป็นจริง ต้องขอบคุณความคิดสร้างสรรค์ ความเพียรพยายาม และความสามารถในการฟื้นตัวของนักกีฬาทุกระดับ เพราะในท้ายที่สุดแล้ว นี่ไม่ใช่เรื่องของอุปสรรค แต่เป็นการก้าวผ่านอุปสรรคเหล่านี้ด้วยกัน ตามที่ Hamilton จากแคนซัสซิตีได้สรุปไว้อย่างครบถ้วนกระบวนความว่า “ถ้ามุ่งมั่นตั้งใจอะไรไว้ ก็ลงมือสร้างมันขึ้นมา”

เรียบเรียงโดย Emily Jensen และ Zito Madu
ภาพถ่ายโดย Courtney Sofiah Yates

รายงานเมื่อ: ตุลาคม 2020

เคล็ดลับการออกกำลังกายที่บ้าน

เข้าถึงการออกกำลังกายที่นำโดยเทรนเนอร์ฟรีกว่าร้อยแบบ จะอยู่ที่ไหนก็ออกกำลังได้ด้วย Nike Training Club

เคล็ดลับการออกกำลังกายที่บ้าน

เปิดการวิ่งพร้อมเสียงแนะนำแล้วออกไปวิ่งข้างนอกหรือวิ่งบนลู่วิ่งไฟฟ้ากับ Nike Run Club

เผยแพร่ครั้งแรก: 22 ธันวาคม 2564