ภารกิจกู้ภัย: โลจิสติกส์ย้อนกลับช่วยชีวิตรองเท้านับล้านคู่ได้อย่างไร
นวัตกรรม
โปรแกรมรีเฟอร์บิชของ Nike จะคืนชีวิตใหม่ให้กับสนีกเกอร์ที่เคยถูกทิ้ง
Move to Zero ขอนำเสนอ: การเดินทางของ Nike สู่การลดปริมาณคาร์บอนและของเสียให้เป็นศูนย์เพื่อช่วยปกป้องอนาคตแห่งเกมกีฬา
เคยสงสัยไหมว่าเกิดอะไรขึ้นกับรองเท้าที่คุณส่งกลับมา
เส้นทางของรองเท้า Nike หลายล้านคู่ต่างมุ่งสู่ Nike Rebound ซึ่งเป็นโรงงานที่ใช้ระบบโลจิสติกส์ย้อนกลับ (Reverse Logistics) และตั้งอยู่บนพื้นที่ขนาดใหญ่ในเมืองเลบานอน รัฐอินเดียน่า
"Rebound คือที่ที่เราจัดการกับสินค้า Nike ทั้งหมดที่ถูกส่งคืนมาในทวีปอเมริกาเหนือ นี่จึงเป็นสถานที่ที่ใหญ่มาก" Valerie Nash ผู้จัดการฝ่ายปฏิบัติการสินค้าเข้ากล่าว
Nike Rebound เป็นสถานที่จัดการสินค้าส่งคืนหลายพันรายการต่อวัน ปัดเพื่อดูคนที่ทำให้กระบวนการทั้งหมดเกิดผลสำเร็จอย่าง Valerie Nash (ซ้าย) และ Fabian Garcia
โรงงาน Nike Rebound ครอบคลุมพื้นที่ขนาดใหญ่ ราวๆ 20 สนามฟุตบอล เนื่องจากเป็นสถานที่ที่ต้องจัดการกับสินค้าส่งคืนหลายพันรายการต่อวัน ผู้คนอย่าง
Valerie Nash (ซ้าย) และ Fabian Garcia ทำให้กระบวนการทั้งหมดเกิดผลสำเร็จ
สิ่งที่เธอพูดไม่ใช่เรื่องเล่นๆ เพราะโรงงานขนาด 3 ชั้นแห่งนี้มีพื้นที่ 1.1 ล้านตารางฟุต (ประมาณสนามฟุตบอล 20 สนาม) และต้องรับสินค้าส่งคืนจำนวนหลายพันรายการต่อวัน ซึ่งบางชิ้นก็ส่งมาจากบ้านพักอาศัยของนักกีฬาเช่นคุณ บางชิ้นก็ส่งมาจากร้านค้าปลีกหลายๆ รายที่เป็นพาร์ทเนอร์ขายสินค้า Nike ของเรา สภาพรองเท้าบางคู่ก็เปรอะเปื้อน บางคู่ก็ดูไม่ได้เลย บางคู่ก็เหมือนจะแค่ซื้อมาผิดไซส์ แต่ไม่ว่ารองเท้าคู่ไหนจะเป็นของใคร อยู่ในสภาพไหน หรือทำไมต้องส่งคืน ทุกคู่ล้วนมีจุดหมายปลายทางคือ Rebound
การเคลื่อนย้ายและดูแลสินค้าส่งคืนจำนวนมากขนาดนี้ถือเป็นเพียงขั้นตอนหนึ่งของกระบวนการโลจิสติกส์ย้อนกลับ และขั้นตอนต่อไปจะเป็นการตัดสินว่าควรทำอย่างไรกับสินค้าเหล่านี้ทั้งหมด
เส้นทางการส่งคืนที่แตกต่างกัน
สินค้าที่อยู่ในสภาพสมบูรณ์ ไม่เคยมีการใช้งาน และไม่มีร่องรอยการสึกหรอ จะถูกส่งกลับไปสต็อกเพื่อรอการสั่งซื้อจากทางออนไลน์หรือรอจัดส่งไปยัง Store แห่งต่างๆ
แต่สำหรับรองเท้าที่เคยใส่วิ่งแล้วค่อยตัดสินใจส่งคืน รองเท้าประเภทนี้จะมีรอยเปรอะเปื้อนจากถนนอยู่บ้าง สมาชิกทีม Rebound อาจลองทำความสะอาดเร็วๆ ระหว่างการตรวจเช็คสภาพ ซึ่งบางครั้งก็ไม่เพียงพอที่จะทำให้รองเท้ากลับไปอยู่ในสภาพสมบูรณ์ได้
ก่อนที่จะเริ่มโปรแกรมรีเฟอร์บิช รองเท้าทุกคู่ที่ถูกส่งคืนพร้อมร่องรอยการสึกหรอ ไม่ว่าจะสาหัสมากน้อยแค่ไหน จะถูกนำไปบดทำลายด้วยเครื่อง Nike Grind ตามที่ปรากฏในภาพสไลด์นี้
เมื่อก่อนรองเท้าทุกคู่ที่ถูกส่งคืนพร้อมร่องรอยการสึกหรอ ไม่ว่าจะสาหัสมากน้อยแค่ไหน จะถูกนำไปบดทำลายด้วยเครื่อง Nike Grind
อย่างที่คุณเห็นจากรูป แต่ทีม Rebound รู้ว่ายังพอมีความเป็นไปได้ที่จะสามารถมอบโอกาสที่สองให้รองเท้าหลายๆ คู่
ในอดีต แม้จะเป็นรองเท้าที่มีการสึกหรอเพียงเล็กน้อยอย่างคู่นี้ ก็ยังต้องถูกบดทำลายตามนโยบายของ Nike Grind โปรแกรมรีไซเคิลรองเท้าที่เริ่มดำเนินการตั้งแต่ปี 1992 เพื่อจัดหาวัตถุดิบมาสร้างเป็นพื้นสนามกีฬา อุปกรณ์ด้านเทคโนโลยีต่างๆ ชั้นบุพรม และอีกมากมาย แต่ถึงแม้จะมีรองเท้าที่เสื่อมสภาพและไม่สามารถใช้งานได้บางส่วนที่ต้องถูกบดทำลายเหมือนเดิม ทีม Rebound ก็รู้ว่ายังมีรองเท้าอีกจำนวนมากที่อยู่ในสภาพแทบจะสมบูรณ์และต้องการการดูแลอีกเพียงเล็กน้อยเท่านั้น
หากการเช็ดทำความสะอาดเร็วๆ ในขั้นตอนการตรวจเช็คสภาพไม่ได้ผล รองเท้าที่มีร่องรอยการสึกหรอเพียงเล็กน้อยจะถูกนำไปเข้าขั้นตอนรีเฟอร์บิช
ช่างเทคนิคที่ผ่านการฝึกอบรมของทีมรีเฟอร์บิชมอบโอกาสที่สองให้กับรองเท้านับพันคู่ต่อวัน
พร้อมสำหรับการรีเฟอร์บิช
เข้าสู่ Nike Refurbished โปรแกรมซึ่งนำรองเท้าที่จะถูกกำจัดมาฟื้นฟูใหม่ ปัจจุบันรองเท้าที่เข้าโปรแกรม Refurbished มีมากกว่า 225,000 คู่ รองเท้าจะได้รับการนำกลับไปวางขายที่ Nike Store ในราคาที่ต่ำลง
"Nike Refurbished ก็เหมือนพวกเรามาชุบชีวิตให้สินค้าพวกนั้น คืนชีวิตให้มันอีกครั้ง เช็ดถูมันให้สะอาดสะอ้าน ทำให้ดูเหมือนใหม่ แล้วก็เอาไปวางขายในตลาดอีกครั้ง"
Valerie Nash
ผู้จัดการฝ่ายปฏิบัติการสินค้าเข้า
"Nike Refurbished ก็เหมือนพวกเรามาชุบชีวิต
ให้สินค้าพวกนั้น คืนชีวิตให้มันอีกครั้ง เช็ดถูมัน
ให้สะอาดสะอ้าน ทำให้ดูเหมือนใหม่ แล้วก็เอาไปวางขาย
ในตลาดอีกครั้ง"
Valerie Nash
ผู้จัดการฝ่ายปฏิบัติการสินค้าเข้า
หากการเช็ดทำความสะอาดเร็วๆ ในขั้นตอนตรวจเช็คสภาพเบื้องต้นไม่ได้ผล สมาชิกทีม Rebound จะนำสินค้าเหล่านั้นใส่ถังแล้วพาย้ายที่ไปตามสายพานลำเลียงจนเข้าสู่คลังสินค้า และภายในคลังสินค้าคือสำนักงานใหญ่ของโปรแกรม Refurbished
เมื่อรองเท้าที่มีสภาพสึกหรอเล็กน้อยมาถึง ทีมช่างเทคนิคที่ผ่านการฝึกอบรมจะจัดการกับรองเท้าพวกนี้ด้วยการทำงานที่ประสานกันอย่างเป็นระบบ
"รองเท้าทุกคู่มีความพิเศษ" Fabian Garcia ผู้จัดการฝ่ายดำเนินการเพื่อความยั่งยืนกล่าว "เราจึงใช้เครื่องมือหลายชนิดเพื่อทำให้รองเท้าใกล้เคียงสภาพดั้งเดิมเท่าที่เราจะทำได้"
ทีมช่างเทคนิคที่ผ่านการฝึกอบรมมอบโอกาสที่สองให้กับรองเท้าใหม่หลายพันคู่ต่อวัน ปัดเพื่อดูรายละเอียดการทำงานของทีม
กระบวนการของการนำรองเท้าออกจากสายการตรวจเช็คสภาพเพื่อนำไปรีเฟอร์บิชเริ่มต้นในปี 2021 ซึ่งนับจนถึงตอนนี้มีรองเท้ามากกว่า 225,00 คู่แล้ว
ที่ได้รับการนำกลับไปวางขายในร้าน
แต่ละเวิร์คสเตชันมีอุปกรณ์ต่างๆ เช่น ผ้าเช็ด แปรง น้ำยาลบรอยเปื้อน สเปรย์ฆ่าเชื้อ แม้แต่ชุดเครื่องมือสำหรับแคะก้อนกรวดที่เข้าไปติดในร่องพื้นรองเท้าแล้วเอาออกยากๆ ก็ยังมี ช่างเทคนิคจะใช้เครื่องมือทั้งหมดนี้เพื่อเช็ดถู ขัดเงา และพ่นสเปรย์จนกว่ารองเท้าที่ถูกส่งกลับมาเหล่านี้จะดูใหม่พอสำหรับเจ้าของคนใหม่
เมื่อรีเฟอร์บิชเสร็จแล้ว ช่างเทคนิคจะส่งรองเท้าไปยังเพื่อนร่วมทีมที่ทำหน้าที่คัดแยก บรรจุลงกล่อง และจัดส่งไปยัง Store
Anthony Clark ผู้จัดการฝ่ายปฏิบัติการสินค้าออกอธิบายให้เห็นภาพว่า "คุณเคยเห็นรถเทรลเลอร์ยาว 15 เมตรวิ่งบนทางด่วนไหมล่ะ" เขาถาม "เทรลเลอร์คันเดียวสามารถบรรทุกรองเท้าได้ถึง 5,000 กล่อง ซึ่งนั่นคือจำนวนรองเท้าที่ต้องนำมารีเฟอร์บิชทุกๆ วันเพื่อส่งกลับไปให้คนใช้งานอีกรอบ"
กระบวนการของการนำรองเท้าออกจากสายการตรวจเช็คสภาพเพื่อนำไปรีเฟอร์บิชเริ่มต้นในปี 2021
ครั้งต่อไปที่คุณมาที่ Nike Store ให้คอยมองหากล่องรีเฟอร์บิชอย่างกล่องนี้ เป้าหมายของทีมคือ
ส่งรองเท้าไปให้ทั่วทุก Store ในสหรัฐฯ ซึ่ง Store ของคุณอาจเป็นร้านถัดไปก็ได้
จากนั้นไปไหนต่อล่ะ
รถพ่วงที่เต็มไปด้วยรองเท้ารีเฟอร์บิชมุ่งหน้าไปยัง Nike Store บางแห่งที่กระจายตัวอยู่ทั่วทั้งสหรัฐฯ คุณจะพบกับกล่องรองเท้า "Nike Refurbished" ซึ่งมีเครื่องหมายกำกับว่า "สภาพเหมือนใหม่", "ใช้งานไปเล็กน้อย" หรือ "ลวดลายมีตำหนิ" ได้ใน Store เหล่านี้
"นี่เป็นแค่การเริ่มต้นเท่านั้น เป้าหมายของเราคือการมี Nike Refurbished ในทุก Store"
Anthony Clark
ผู้จัดการฝ่ายปฏิบัติการสินค้าออก
"นี่เป็นแค่การเริ่มต้นเท่านั้น เป้าหมายของเราคือ
การมี Nike Refurbished ในทุก Store"
Anthony Clark
ผู้จัดการฝ่ายปฏิบัติการสินค้าออก
เป้าหมายอาจไม่ได้อยู่ไกลเกินไป "ในช่วงแรกของปี 2021 เราเปิดตัวโปรแกรมนี้ใน Store ทั้งหมด 3 แห่ง" Fabian กล่าว "1 ปีต่อมา เราส่งรองเท้ารีเฟอร์บิชให้ Store เพิ่มเป็น 30 แห่ง ตอนนี้เรากำลังเพิ่มศักยภาพเพื่อให้สามารถจัดการกับรายการสินค้าที่ไม่สามารถเก็บสต็อกได้ในจำนวนที่มากกว่าเดิมทั่วทั้งซัพพลายเชนในทวีปอเมริกาเหนือ"
ลองคิดดูนะ ครั้งหน้าที่คุณเอาสินค้ามาคืน สินค้าชิ้นนั้นอาจเป็นส่วนหนึ่งของสินค้านับล้านชิ้นที่ทีม Rebound ตั้งเป้าว่าจะจัดการในปีนี้ และมันอาจกลายเป็นรองเท้าคู่ใหม่ที่ถูกใจใครสักคนก็ได้
สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม เข้าไปดูได้ที่ Nike.com/Sustainability เพื่อติดตามการเดินทางของพวกเราแต่ละก้าว แล้วร่วมกันค้นพบเส้นทางใหม่ๆ เพื่อบรรลุเป้าหมาย Move to Zero สู่การลดปริมาณคาร์บอนและของเสียให้เป็นศูนย์ด้วยกัน
ภาพถ่ายโดย Ariel Fisher
เรียบเรียงโดย Rebecca Coolidge