ช่วยเด็กๆ ให้ตกหลุมรักการออกกำลังกาย
การโค้ช
โดย Nike Training
3 วิธีที่คุณทำได้เพื่อเตรียมความพร้อมให้เด็กๆ รักษาสุขภาพให้แข็งแรงไปตลอดชีวิต
คุณเป็นคนชอบออกกำลังกาย แต่ก็อยากให้ลูกๆ ชอบเหมือนกัน ลองให้กำลังใจ แรงบันดาลใจ และคำชี้แนะแบบที่เด็กๆ ต้องการสักหน่อย แล้วพวกเขาจะเริ่มอยากออกกำลังกายทุกวัน ซึ่งเป็นนิสัยที่จะติดตัวไปตลอดชีวิต 3 วิธีต่อไปนี้จะช่วยให้คุณบรรลุเป้าหมายได้
ถ้าคุณและลูกๆ สนุกกับการเคลื่อนไหวออกแรงมาตั้งแต่ต้น ไม่ว่าจะเตะบอลด้วยกันในสวน หรือออกกำลังกายเบาๆ กับโปรแกรม Fitness Adventure with Brian & Bella Nunez ของเรา ในส่วนนี้ ถือว่าคุณไปได้ไกลระดับนึงแล้ว เทคโนโลยี (ทีวี คอมพิวเตอร์ หรือแท็บเล็ต) มักจะคอยฉุดรั้งเด็กๆ ไม่ให้ลุกจากที่นั่ง ดังนั้น ขอแค่มีการเคลื่อนไหวเข้ามาบ้าง จะเป็นท่าอะไรก็ได้ ถือว่าเป็นอันใช้ได้แล้ว
คุณและลูกอาจจะสนุกกับการเคลื่อนไหวร่างกาย แต่ถ้าอยากเปลี่ยนเรื่องนี้ให้กลายเป็นนิสัยติดตัวตลอดชีวิต ก็ไม่มีคำว่าสายที่จะเริ่มมองในภาพใหญ่และในระยะยาว “ประสบการณ์ตอนเด็กๆ อาจทำให้คุณชอบหรือเกลียดการออกกำลังกาย ซึ่งความชอบหรือเกลียดนี้อาจอยู่ติดตัวตลอดไป” Brian Nunez ผู้เป็น Nike Master Trainer กล่าว “ในฐานะพ่อแม่ พยายามสร้างประสบการณ์เชิงบวกให้ลูกๆ มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ตั้งแต่พวกเขายังเด็ก ก่อนที่ชั่วโมงพลศึกษา การเล่นกีฬา และการแข่งขัน รวมถึงชีวิตโดยรวมจะเริ่มจริงจังมากขึ้น”
วิธีหนึ่งที่ทำได้คือแฝงการออกกำลังกายไว้ในรูปแบบของการเล่นสนุก แต่เรื่องนี้ คุณอาจต้องมองให้ลึกขึ้นอีกหน่อย คือให้ความสัมพันธ์กับกิจกรรมที่ทำเป็นความสัมพันธ์ที่ดีตลอดชีวิตโดยขึ้นมาจากพื้นฐาน
01. ทำให้ดูเป็นตัวอย่าง
บางครั้ง เด็กๆ อาจทำเหมือนไม่ได้ยิน แต่ว่าพวกเขาฟังคุณอยู่ตลอด “แม้จะเป็นการเทรนนิ่งของคุณเอง แต่ทุกครั้งที่พูดเรื่องออกกำลังกาย เด็กๆ จะมีโอกาสรู้สึกกระตือรือร้นหรือเบื่อหน่ายกับการมีสุขภาพแข็งแรงได้” Diana Cutaia ผู้ก่อตั้งบริษัท Coaching Peace Consulting ผู้ซึ่งทำงานร่วมกับทีม Social and Community Impact ของ Nike กล่าว
ทุกครั้งเวลาเตรียมตัวจะไปหรือเพิ่งกลับมาจากที่ออกกำลังกาย ลองเลือกใช้คำที่ทำให้การออกกำลังกายเป็นเรื่องน่าตื่นเต้นดู Cutaia กล่าว ตัวอย่างเช่น แทนที่จะบอกว่า “เดี๋ยววันนี้แม่ต้องไปออกกำลังกายนะ” หรือ “พ่อวิ่งมาเหนื่อยมากเลยลูก” ให้เปลี่ยนเป็น “วันนี้แม่อยากไปออกกำลังกายเร็วๆ จัง” หรือ “พ่อออกแรงไปเยอะเลยล่ะ พ่อแข็งแรงไหมลูก” ยิ่งเด็กๆ ได้เห็นความพยายามของคุณและเห็นว่าคุณมีความสุขไปกับการออกกำลังกาย พวกเขาก็จะยิ่งผูกพันกับการออกกำลังกายในทางที่ดีมากขึ้น Nunez เห็นด้วย
02. เตรียมเด็กๆ ให้พร้อมสู่ความสำเร็จ
บางครั้งพ่อแม่มักจะจี้ลูกๆ มากเกินไปเวลาบอกหรือสอนอะไรให้พวกเขาทำตาม แม้จะเป็นเพราะความหวังดีล้วนๆ ก็ตาม Cutaia กล่าว “คุณอยากให้กำลังใจลูกตลอดการออกกำลังกายอยู่แล้ว แต่ก่อนหน้านั้น คุณต้องหัดเด็กๆ ให้เป็นเสียก่อน พวกเขาจะได้ทำในสิ่งที่คุณบอกให้ทำได้อย่างถูกต้อง” เธอกล่าว เวลารู้สึกว่าตัวเองไม่มีความสามารถ เด็กๆ มีสิทธิ์จะเกิดอาการหงุดหงิดและถอดใจล้มเลิกไปในที่สุดได้
คำพูดให้กำลังใจของคุณจะยิ่งมีผลเวลาเด็กๆ รู้สึกมั่นใจพอจะได้ยินคำพูดนั้นจริงๆ
ครั้งต่อไป เวลาพาเด็กๆ ไปขยับร่างกายด้วยการเล่นเกมหรือออกกำลังกาย ลองใช้เวลา 2-3 นาทีเพื่ออธิบายและสาธิตสิ่งที่คุณอยากให้ทำ Cutaia กล่าว ให้เด็กๆ เลียนแบบท่าทางของคุณเลยก็ได้ หรือเลียนแบบท่าทางของสัตว์ที่พวกเขาจินตนาการขณะกำลังทำท่านั้นๆ หรือท่าที่คุณอธิบายให้ฟัง Nunez เสริม ไม่ว่าจะวิธีไหน ขอให้พวกเขาเข้าใจวิธีทำให้มากที่สุดก่อนที่คุณจะสวมบทเป็นเชียร์ลีดเดอร์ คำพูดให้กำลังใจของคุณจะยิ่งมีผลเวลาเด็กๆ รู้สึกมั่นใจพอจะได้ยินคำพูดนั้นจริงๆ
03. ให้รางวัลกับการกระทำ ไม่ใช่ผลลัพธ์
หวังว่าคุณคงจะรู้แล้วว่าการสนใจความคืบหน้ามากกว่าความสมบูรณ์แบบ และฉลองความสำเร็จเล็กๆ ในการเทรนนิ่งของตัวเองคือสิ่งที่ทำให้คุณมีแรงอยากกลับมาลุยต่อ เด็กๆ ก็ไม่ต่างกันเมื่อเป็นเรื่องของการออกกำลังกาย ทุกคนอยากได้รางวัลเป็นดาวสีทอง แต่ Cutaia เสริมอีกว่า คุณต้องหาโอกาสให้รางวัลนั้นในจังหวะที่เหมาะสมที่สุด นั่นคือตอนที่เด็กๆ กำลังพยายามอยู่
ใช้คำพูดประมาณว่า “เก่งขึ้นเยอะเลยนี่นา วิดพื้นยากขนาดนี้ แต่ลูกยังทำได้เยี่ยม”
สมมติว่าลูกคุณมีปัญหากับท่าวิดพื้นแปลง แทนที่จะปล่อยให้เขาตัดใจเชื่อว่าตัวเองทำไม่ไหว ลองบอกให้เขาย่อตัวลงพื้นแล้วหยุด แล้วบอกต่อว่า “ดูสิ วิดพื้นครึ่งแรกผ่านแล้วนะ” จากนั้นให้เขาลองวิดพื้นครึ่งหลัง แล้วทำครึ่งหน้ากับครึ่งหลังด้วยกันพร้อมปรบมือชื่นชมไปด้วยทุกครั้งที่เห็นการพัฒนา Cutaia กล่าว ลองเริ่มจดบันทึกพัฒนาการด้วยกันกับลูกเลยก็ได้ โดยให้เขาเขียนผลงานที่ตัวเองทำได้แบบสัปดาห์ต่อสัปดาห์ “คุณต้องมองเห็นความทุ่มเทที่เขาทำลงไป และให้เขารู้สึกดีกับสิ่งนั้น” เธออธิบาย ใช้คำพูดประมาณว่า “อยากวิดพื้นอีกใช่ไหม เก่งมากเลย” หรือ “เก่งขึ้นเยอะเลยนี่นา วิดพื้นยากขนาดนี้ แต่ลูกยังทำได้เยี่ยม”
สุดท้ายแล้ว สิ่งที่ทำให้คุณชอบการมีสุขภาพแข็งแรงก็เป็นสิ่งเดียวกับที่ช่วยให้ลูกๆ ของคุณชอบเหมือนกัน เลือกเครื่องมือที่เหมาะสมให้กับพวกเขา เช่น แรงบันดาลใจ คำแนะนำ หรือการชื่นชม แล้วความรักของเด็กๆ จะขยับเข้าใกล้คำว่าตลอดไปมากขึ้น
สมมติว่าลูกคุณมีปัญหากับท่าวิดพื้นแปลง แทนที่จะปล่อยให้เขาตัดใจเชื่อว่าตัวเองทำไม่ไหว ลองบอกให้เขาย่อตัวลงพื้นแล้วหยุด แล้วบอกต่อว่า “ดูสิ วิดพื้นครึ่งแรกผ่านแล้วนะ” จากนั้นให้เขาลองวิดพื้นครึ่งหลัง แล้วทำครึ่งหน้ากับครึ่งหลังด้วยกันพร้อมปรบมือชื่นชมไปด้วยทุกครั้งที่เห็นการพัฒนา Cutaia กล่าว ลองเริ่มจดบันทึกพัฒนาการด้วยกันกับลูกเลยก็ได้ โดยให้เขาเขียนผลงานที่ตัวเองทำได้แบบสัปดาห์ต่อสัปดาห์ “คุณต้องมองเห็นความทุ่มเทที่เขาทำลงไป และให้เขารู้สึกดีกับสิ่งนั้น” เธออธิบาย ใช้คำพูดประมาณว่า “อยากวิดพื้นอีกใช่ไหม เก่งมากเลย” หรือ “เก่งขึ้นเยอะเลยนี่นา วิดพื้นยากขนาดนี้ แต่ลูกยังทำได้เยี่ยม”
สุดท้ายแล้ว สิ่งที่ทำให้คุณชอบการมีสุขภาพแข็งแรงก็เป็นสิ่งเดียวกับที่ช่วยให้ลูกๆ ของคุณชอบเหมือนกัน เลือกเครื่องมือที่เหมาะสมให้กับพวกเขา เช่น แรงบันดาลใจ คำแนะนำ หรือการชื่นชม แล้วความรักของเด็กๆ จะขยับเข้าใกล้คำว่าตลอดไปมากขึ้น