การเปลี่ยนแปลงในวงการฟุตบอลหญิงของบราซิล

Athlete*

Andressa Alves ดาราแข้งหญิงแดนแซมบ้าบอกเล่าถึงการเติบโตของวงการฟุตบอลหญิงทั้งในประเทศบ้านเกิดของเธอและทั่วโลก

อัพเดทล่าสุด: 9 มีนาคม 2565
ใช้เวลาอ่าน 7 นาที

Sofia อายุเพียง 14 ปี แต่เธอกลับรู้สึกถึงการเปลี่ยนแปลงที่กำลังเกิดขึ้นในวงการฟุตบอลหญิงได้แล้ว

ในระหว่างที่นั่งอยู่กับเพื่อนร่วมทีมในห้องล็อกเกอร์ของสโมสรฟุตบอลในเมืองเซาเปาลู ประเทศบราซิล เธอพูดคุยถึงเรื่องทัวร์นาเมนต์ปี 2019 ซึ่งได้มีการถ่ายทอดสดให้ชมกันในจอโทรทัศน์ไปทั่วประเทศของเธอเป็นครั้งแรก

“ตายละ หนูคิดไม่ออกเลยว่าจะพูดอะไร เรื่องนี้มันสุดยอดจริงๆ ค่ะ” Sofia เกริ่น “บางคนไม่รู้ด้วยซ้ำว่า [ฟุตบอลหญิง] คืออะไร ‘ผู้หญิงเล่นฟุตบอลเนี่ยนะ ไม่มีทาง’ แต่จากนั้นทุกคนก็เริ่มรู้จักวงการฟุตบอลหญิงมากขึ้นค่ะ”

จากจุดเล็กๆ สู่ปรากฏการณ์ในฟุตบอลหญิง

จำนวนผู้ชมที่เพิ่มขึ้น

ประสบการณ์ที่ผ่านมาของเหล่านักฟุตบอลหญิงนั้นไม่ง่ายเท่าใดนัก ทว่าทัวร์นาเมนต์ในฤดูร้อนครั้งล่าสุดที่ฝรั่งเศสก็ได้จุดประกายให้เกิดการเปลี่ยนแปลงขึ้น สำหรับพวกเธอและอีกหลายคน การแข่งขันนี้ถือเป็นจุดเปลี่ยนและเป็นช่วงเวลาที่จะส่งผลกระทบเป็นวงกว้างในการเติบโตของวงการฟุตบอลหญิง ซึ่งในบางด้านก็ได้เกิดผลเป็นที่เรียบร้อยแล้ว มีจำนวนผู้ชมจากทั่วโลกที่สูงเป็นสถิติมากกว่า 1 พันล้านคนที่ได้เปิดดูแมตช์การแข่งขัน และกระแสนี้ก็ยังดำเนินต่อไป

ในช่วงหลายเดือนหลังจากทัวร์นาเมนต์ ลีกฟุตบอลหญิงอาชีพมีจำนวนผู้เข้าชมเฉลี่ยเพิ่มขึ้น และมีการแข่งขันหลายนัดที่ทำลายสถิติการเข้าชมเกมฟุตบอลหญิงทั้งในระดับสโมสรและระดับนานาชาติ หนึ่งในการแข่งขันดังกล่าวเกิดขึ้นที่เซาเปาลู วันที่ 16 พฤศจิกายน 2019 เมื่อ Corinthians เป็นเจ้าบ้าน นัดนั้นมีผู้ชม 28,609 คนในสนามของทีมฟุตบอลชาย ซึ่งถือเป็นอีกหนึ่งครั้งแรกสำหรับฟุตบอลหญิง และที่นั่งอยู่ตรงนั้นบนอัฒจันทร์คือ Sofia, Gabi และ Nicoly ผู้มองไปยังที่นั่งคนดูซึ่งปกติมีไว้เพื่อการแข่งขันของผู้ชาย

จากจุดเล็กๆ สู่ปรากฏการณ์ในฟุตบอลหญิง

CORINTHIANS
พบกับ
SÃO PAULO
ผู้ชม 28,609 คน

16 พฤศจิกายน
สนาม Arena Corinthians เมืองเซาเปาลู

25,218

11 สิงหาคม
Portland Thorns พบกับ North Carolina Courage
สนาม Providence Park เมืองพอร์ตแลนด์

49,504

29 สิงหาคม
สหรัฐอเมริกา พบกับ โปรตุเกส
สนาม Lincoln Financial Field เมืองฟิลาเดลเฟีย

77,768

9 พฤศจิกายน
อังกฤษ พบกับ เยอรมนี
สนาม Wembley กรุงลอนดอน

20,029

9 พฤศจิกายน
ออสเตรเลีย พบกับ ชิลี
สนาม Bankwest Stadium เมืองซิดนีย์

30,661

9 พฤศจิกายน
Lyon พบกับ Paris Saint-Germain
สนาม Groupama Stadium เมืองลียง

38,262

17 พฤศจิกายน
Tottenham พบกับ Arsenal
สนาม Tottenham Hotspur Stadium กรุงลอนดอน

25,218

11 สิงหาคม
Portland Thorns พบกับ North Carolina Courage
สนาม Providence Park เมืองพอร์ตแลนด์

49,504

29 สิงหาคม
สหรัฐอเมริกา พบกับ โปรตุเกส
สนาม Lincoln Financial Field เมืองฟิลาเดลเฟีย

77,768

9 พฤศจิกายน
อังกฤษ พบกับ เยอรมนี
สนาม Wembley กรุงลอนดอน

20,029

9 พฤศจิกายน
ออสเตรเลีย พบกับ ชิลี
สนาม Bankwest Stadium เมืองซิดนีย์

30,661

9 พฤศจิกายน
Lyon พบกับ Paris Saint-Germain
สนาม Groupama Stadium เมืองลียง

38,262

17 พฤศจิกายน
Tottenham พบกับ Arsenal
สนาม Tottenham Hotspur Stadium กรุงลอนดอน

จากจุดเล็กๆ สู่ปรากฏการณ์ในฟุตบอลหญิง

ทั้งหมดนี้มีความหมายอย่างไรต่อ Sofia กับเพื่อนร่วมทีมของเธอบ้าง อย่างแรกเลยคือการยอมรับ

“คนจะดูและคิดในใจค่ะว่า ‘โอ้โห ผู้หญิงก็เล่นฟุตบอลระดับเดียวกับผู้ชายได้นะ’” Nicoly ผู้รักษาประตูอายุ 12 ปี สังกัดสโมสร Pelado Real กล่าว

แน่นอนว่ามีปัญหาอื่นๆ อีกมาก ทั้งเรื่องการเข้าถึงและการจัดหาทุน ซึ่งต้องได้รับการแก้ไขเพื่อให้วงการนี้เติบโต แต่ระดับความสนใจที่มากขึ้นนั้นก็เป็นเครื่องมือที่เข้าถึงผู้คนได้อย่างมีอิทธิพล ซึ่งได้เริ่มเปลี่ยนแปลงมุมมองที่มีต่อฟุตบอลหญิงไปเรียบร้อยแล้ว

การเปลี่ยนแปลงที่เริ่มต้นในบ้าน

Sofia และเพื่อนร่วมทีมของเธอ Gabi กับ Nicoly รู้ดีถึงความท้าทายที่เด็กผู้หญิงต้องเผชิญเมื่ออยากเล่นและดูกีฬาฟุตบอล พวกเธอประสบกับความท้าทายนี้ด้วยตัวเอง ไม่ว่าไปสวนสาธารณะแล้วเจอแต่ผู้ชายทั้งเด็กและผู้ใหญ่ในสนาม หรือโดนมองและถูกตั้งคำถามแปลกๆ อย่าง “เป็นผู้ชายหรือไงกัน” แต่ในที่สุด เด็กหญิงกลุ่มนี้ก็ได้เข้าร่วมสโมสรฟุตบอล Pelado Real ซึ่งเป็นสโมสรเอกชนหญิงล้วนแห่งเดียวในเซาเปาลู

ในประเทศบราซิล ความคิดของพ่อแม่คือสิ่งที่จำเป็นต้องมีการเปลี่ยนแปลงที่สุด Júlia Vergueiro ผู้ก่อตั้งสโมสร Pelado Real กล่าว ครอบครัวมักเป็นอุปสรรคที่สำคัญที่สุดในการพาลูกสาวเข้าสู่โลกกีฬา มีวัฒนธรรมที่สืบต่อมาอย่างยาวนานว่าเด็กผู้ชายต้องเล่นฟุตบอล ส่วนเด็กผู้หญิงต้องเล่นตุ๊กตา เธอกล่าวว่า ขอเพียงมีการถ่ายทอดสดฟุตบอลหญิง ความคิดดังกล่าวก็จะเริ่มเปลี่ยนแปลง

“ก่อนหน้านี้ ถ้าพ่อแม่คิดเพียงว่าลูกสาวของตนอยากเล่นฟุตบอล พวกเขาจะไม่อยากเล่าเรื่องนี้ให้ใครฟังค่ะ” Júlia กล่าว “ตอนนี้ พอไปทำงานและได้ยินคนพูดกันว่า ‘เห็น Andressa ทำประตูไหม เห็นลีลานั้นไหม’ พวกเขาจะพูดได้ว่า ‘สุดยอดเลย ลูกสาวของเราก็เล่นฟุตบอลด้วยนะ แถมยังอยากเป็นเหมือน Andressa ด้วย’ และก็ได้กลายมาเป็นสิ่งที่พวกเขาภูมิใจค่ะ”

จากจุดเล็กๆ สู่ปรากฏการณ์ในฟุตบอลหญิง
จากจุดเล็กๆ สู่ปรากฏการณ์ในฟุตบอลหญิง

Nicoly Fonseca, Sofia Couvre, Gabi และ Júlia Vergeiro

Júlia เริ่มก่อตั้งสโมสร Pelado Real ในปี 2011 ขณะกำลังทำงานธนาคาร และในปี 2013 เธอได้เปลี่ยนมาทำงานเต็มเวลาให้กับสโมสรแห่งนี้ (แม้ว่าพ่อแม่ของเธอจะกังวลใจเพราะมองไม่เห็นรายได้หรือความมั่นคงในงานฟุตบอลหญิงก็ตาม) การได้เห็นฟุตบอลหญิงในระดับอาชีพทางโทรทัศน์นั้นหมายความว่าผู้เล่นชุดปัจจุบันของ Júlia ก็มีโอกาสที่จะได้เล่นให้กับทีมชาติบราซิลหรือสโมสรใหญ่ๆ ระดับนานาชาติได้ และในตอนนี้ก็ยิ่งมีเด็กผู้หญิงจำนวนมากกว่าเดิมที่มีความใฝ่ฝันนี้ร่วมกัน Júlia เล่าว่าในช่วงหลายเดือนตั้งแต่ทัวร์นาเมนต์ในฤดูร้อนครั้งล่าสุดนั้น มีการสมัครเข้ามาที่สโมสรแห่งนี้เพิ่มเป็นเท่าตัว ซึ่งในอีกไม่นาน Pelado Real ก็จะเริ่มขยับขยายไปยังตำแหน่งที่ตั้งอื่นๆ ในเมืองเซาเปาลู

“สำหรับฉัน ถ้าจะมองเรื่องนี้แบบเห็นภาพชัดๆ คือให้เปรียบเทียบค่ะว่าฉันเห็นใครเป็นไอดอลนักฟุตบอลบ้างตอนยังเด็ก” Júlia กล่าว “ซึ่งถ้าเป็นเมื่อก่อน เวลามีคนถามว่า ‘ใครเป็นแรงบันดาลใจให้คุณเล่นฟุตบอล’ ฉันก็คงพูดถึงแต่ผู้เล่นที่เป็นผู้ชายแน่นอนค่ะ แต่ถ้าคุณลองไปถามเด็กๆ ของฉันที่ Pelado Real วันนี้ พวกเธอจะตอบว่า ‘Andressa Alves ไม่ก็ Adriana’ ค่ะ”

จากจุดเล็กๆ สู่ปรากฏการณ์ในฟุตบอลหญิง

Adriana Leal da Silva

จากจุดเล็กๆ สู่ปรากฏการณ์ในฟุตบอลหญิง

Andressa Alves

อนาคตแห่งวงการลูกหนัง

ผู้เล่นอย่าง Andressa และ Adriana รู้ถึงความยากลำบากและกำลังเต็มที่กับบทบาทของตนเพื่อช่วยเป็นแรงบันดาลใจให้เกิดการเปลี่ยนแปลง โดยการเปลี่ยนแปลงที่พวกเธอทำให้ก้องกังวานนั้นได้เกิดขึ้นเรื่อยมาในบราซิลและประเทศอื่นๆ ตั้งแต่ช่วงฤดูร้อนครั้งล่าสุด ผู้เล่นทั้ง 2 คนรับบทบาทกัน 2 ส่วน ทั้งเล่นให้กับทีมชาติบราซิลและสโมสรของตนตามลำดับ ซึ่งได้แก่ AS Roma (เพิ่งจะมีทีมหญิงมาได้เป็นฤดูกาลที่ 2 เท่านั้น) และ Corinthians

“ฉันคิดผ่านเรื่องราวของฉันค่ะ เด็กสาวในประเทศบราซิลมีสิทธิ์เชื่อมั่นว่าตนเองจะได้เล่นในทวีปยุโรป” Andressa กล่าว เธอยังเป็นผู้หญิงชาวบราซิลคนแรกอีกด้วยที่ได้เล่นให้กับสโมสร FC Barcelona “เป้าหมายหลักของฉันคือการทิ้งมรดกให้แก่ทุกสโมสรที่ฉันได้กลายเป็นส่วนหนึ่ง เพื่อที่ฉันจะได้เปิดประตูต้อนรับเด็กผู้หญิงคนอื่นๆ ต่อไปค่ะ”

จากจุดเล็กๆ สู่ปรากฏการณ์ในฟุตบอลหญิง
จากจุดเล็กๆ สู่ปรากฏการณ์ในฟุตบอลหญิง

แล้วกระแสที่เริ่มจากจุดเล็กๆ นี้จะไปต่ออย่างไร Andressa ตอบว่า ด้วยการเป็นส่วนหนึ่งของการสนับสนุนและชมเกมการแข่งขันของผู้หญิง

“แน่นอนค่ะ ฟุตบอลหญิงแตกต่างจากฟุตบอลชายมาก แต่เสน่ห์และความน่าสนใจก็ไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากันเลยค่ะ” เธอกล่าว “หลายๆ คน โดยเฉพาะในบราซิล ไม่รู้จักฟุตบอลหญิงเลย และเอาแต่ตัดสิน หยุดวิจารณ์เสียทีเถอะและมาเริ่มดูได้แล้วค่ะ”

Gabi, Nicoly และ Sofia พร้อมรับช่วงต่อแล้ว

“ทุกคนได้เห็นการเล่นของผู้หญิงในระดับอาชีพแล้ว ต่อไปจะได้เห็นเยาวชนอย่างเราเล่นบ้างค่ะ” Nicoly กล่าว “พวกเขาจะเห็นว่าฟุตบอลหญิงมีอนาคตอันยิ่งใหญ่ได้ค่ะ”

Sofia เสริมว่า “และพวกเราคืออนาคตค่ะ พวกเราจะอยู่สู้ต่อไป”

จากจุดเล็กๆ สู่ปรากฏการณ์ในฟุตบอลหญิง
จากจุดเล็กๆ สู่ปรากฏการณ์ในฟุตบอลหญิง

เรื่องราวนี้มีการรายงานไปเมื่อเดือนพฤศจิกายน 2019

เผยแพร่ครั้งแรก: 11 มีนาคม 2565