Cosmic Unity: เบื้องหลังดีไซน์

หาคำตอบว่าทำไมรองเท้าบาสเก็ตบอลที่ดีไซน์โดยใช้วัสดุรีไซเคิลอย่างน้อย 25% ตามน้ำหนักนั้น จึงเป็นก้าวต่อไปในภาพอนาคตของ Nike บนเส้นทางสู่การลดปริมาณของเสียให้เหลือศูนย์

อัพเดทล่าสุด: 2 กันยายน 2564
ใช้เวลาอ่าน 4 นาที

เบื้องหลังดีไซน์: Cosmic Unity

นี่ไม่ใช่เรื่องของความสมบูรณ์แบบ แต่เป็นเรื่องของความก้าวหน้า ในการเล่นบาสเก็ตบอล อะไรก็ตามที่ผู้เล่นทำได้เพื่อพัฒนาฝีมือให้ดีขึ้น แม้ว่าจะเล็กน้อยก็ตาม สามารถสร้างความแตกต่างได้ Cosmic Unity คือก้าวถัดไปในวิสัยทัศน์แห่งอนาคตที่ลดปริมาณของเสียให้เป็นศูนย์ รุ่นนี้ดีไซน์มาโดยใช้วัสดุรีไซเคิลอย่างน้อย 25% ตามน้ำหนัก แม้อาจฟังดูไม่มากนัก แต่ดีไซเนอร์ของเราก็มุ่งมั่นที่จะรังสรรค์ดีไซน์ซึ่งเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมในแบบที่ค่อยๆ พัฒนาขึ้นไปในแต่ละปี อ่านเรื่องราวต่อได้เลยว่าการแปลงโฉมเศษวัสดุเหลือทิ้ง แม้เพียงน้อยนิด จะช่วยให้เราก้าวสู่ Move to Zero ซึ่งเป็นการเดินทางของ Nike ที่มุ่งสู่การลดปริมาณคาร์บอนและของเสียให้เป็นศูนย์ ได้อย่างไร

Cosmic Unity: เบื้องหลังดีไซน์

เอาขยะมาคุยข่ม

การสร้างสรรค์ Cosmic Unity นั้นย้อนกลับไปได้ถึงปี 2008 จากการเปิดตัว Nike Zoom BB II Low “Trash Talk” ซึ่งเป็นซิลลูเอททรงต่ำที่ประเดิมความเป็นไปได้ของ Nike ในการผลิตรองเท้าจากวัสดุรีไซเคิลโดยไม่ลดทอนประสิทธิภาพ ซึ่ง Cosmic Unity รุ่นนี้ก็กล้าหาญที่จะสานต่อแนวคิดนี้ไปอีกระดับ ทีมงานตัดสินใจกันอย่างมีเหตุมีผลโดยคำนึงถึงความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมในทุกขั้นตอนของกระบวนการ ตั้งแต่การที่ดีไซเนอร์เปลี่ยนจากกระดาษที่ใช้แต่เดิมเป็นการร่างไอเดียออกมาในรูปแบบดิจิทัล ไปจนถึงทีมผลิตซึ่งตกลงจะลดจำนวนตัวอย่างที่ขอจากโรงงาน

Cosmic Unity: เบื้องหลังดีไซน์
Cosmic Unity: เบื้องหลังดีไซน์

จับตาดูเศษวัสดุเหลือทิ้ง

Bennett Shaw ผู้จัดการสายผลิตภัณฑ์ Cosmic Unity เป็นคอกีฬาบาสเก็ตบอลจริงจังอยู่แล้ว แต่ก็ไม่ได้เชี่ยวชาญในเรื่อง Move to Zero ของ Nike แต่เมื่อผ่านขั้นตอนพัฒนารองเท้ามาเรื่อยๆ เขาก็เริ่มเห็นความคล้ายคลึงกันระหว่างเกมกีฬาที่เขารักและภารกิจของ Nike นั่นคือแนวคิดที่ว่าคนเราค่อยๆ พัฒนาขึ้นได้ทุกปี “เราต้องการพัฒนาขึ้นตามกาลเวลา” Bennett อธิบาย “เรามุ่งมั่นที่จะพยายามเพิ่มปริมาณวัสดุรีไซเคิล 5% และใน Cosmic Unity รุ่นนี้เราทำได้ถึง 25% ตามน้ำหนัก” การที่จะได้มาซึ่งเลขมหัศจรรย์ 25% นี้ ดีไซเนอร์ได้ใช้สูตรผสมที่ไม่เหมือนใคร โดยใช้องค์ประกอบรีไซเคิลบางส่วนกับวัสดุใหม่ที่ผลิตขึ้นแบบคุ้มค่า เช่น ที่พื้นรองเท้าโฟม Crater ชั้นกลางนั้นเป็นการใช้ยาง Nike Grind ราว 10% ร่วมกับวัสดุใหม่ นอกจากนี้รองเท้ายังมีระบบเชือกแบบเป็นเลเยอร์ซึ่งผลิตขึ้นจากวัสดุรีไซเคิล 99% แผ่นรองพื้นรองเท้าทำจากโพลีเอสเตอร์รีไซเคิล และส่วนยึดติดส้นก็ใช้โพลียูริเทนรีไซเคิลผสมกับโพลีเอสเตอร์รีไซเคิล ทีมงานยังให้ความสำคัญกับรูปลักษณ์ความงามของรองเท้าด้วย โดยออกแบบมาให้ดูว่องไว เพรียว และล้ำอนาคต

สวมใส่เศษวัสดุที่ทดสอบมาแล้ว

A'ja Wilson ผู้เล่น MVP แห่ง WNBA คือหนึ่งในผู้เล่นอาชีพคนแรกๆ ที่ใส่ Cosmic Unity ลงสู้ศึกในคอร์ท รองเท้ารุ่นนี้มาพร้อมกับ Zoom Air Strobel เต็มความยาวเท้าซึ่งมีบางส่วนทำมาจาก TPU รีไซเคิลและดีไซน์มาให้รับมือได้กับทุกท่วงท่าเคลื่อนไหวเท่าที่จะจินตนาการได้ แม้ Zoom Air Strobel ดังกล่าวเป็นองค์ประกอบที่ผู้เล่นซึ่งเคลื่อนไหวเท้าได้แพรวพราวอย่าง A'ja จะต้องชอบ แต่ก็ดีไซน์มาสำหรับผู้เล่นทุกคน “ฉันอึ้งสุดๆ ไปเลยเพราะว่ารองเท้าเบามาก และส่วนตัวก็คิดว่าเหมาะมากแน่นอนกับผู้เล่นทุกตำแหน่ง” A'ja บอก “ฉันรู้ว่า Cosmic Unity ปรับตามทุกก้าวย่างทุกการเคลื่อนไหวได้ด้วย นี่แหละสำคัญสุดๆ เลย รองเท้าควรต้องให้อะไรดีๆ มาด้วยแต่ต้องไม่มากจนเกินไป และแค่พอให้ใส่แล้วรู้สึกว่าตัวเองเร็วขึ้นและว่องไวขึ้น”

Cosmic Unity: เบื้องหลังดีไซน์
Cosmic Unity: เบื้องหลังดีไซน์
Cosmic Unity: เบื้องหลังดีไซน์
Cosmic Unity: เบื้องหลังดีไซน์

เผยแพร่ครั้งแรก: 3 กุมภาพันธ์ 2564

เรื่องราวที่เกี่ยวข้อง

เรียนรู้โดยปฏิบัติจริง: วิธีทำวัสดุชีวภาพ

นวัตกรรม

วิธีการทำชีววัสดุและสร้างสรรค์อนาคตจากครัวของคุณ

วิชาดีไซน์รองเท้าที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมเบื้องต้น

นวัตกรรม

ดีไซน์รองเท้าที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม 101

วิธีทำความสะอาดรองเท้าวิ่งของคุณและเป็นมิตรต่อโลกมากยิ่งขึ้น

นวัตกรรม

วิธีทำความสะอาดรองเท้าวิ่งและลดผลกระทบต่อโลกใบนี้

12 วิธีในการทำให้รองเท้าวิ่งของคุณใช้งานได้ยาวนานยิ่งขึ้น

นวัตกรรม

ยืดระยะทางให้ยาวที่สุด: 12 วิธีง่ายๆ ที่จะช่วยยืดอายุรองเท้าวิ่งของคุณ

เป้าหมายด้านความยั่งยืนปี 2025

Move to Zero

2025 และหลังจากนั้น